เยือนสวนสมภพ ชมการผลิต
“แก้วแคระ” สวยแบบธรรมชาติ หรือตัดแต่งแบบบอนไซ <<<ฉบับ 184 เดือนมิถุนายน
2555
เรื่อง : พิมพ์ใจ
พิสุทธิ์จริยานันท์
สมภพ
มะลิสุวรรณ เจ้าพ่อแก้วแคระ เขาคือนักขยายพันธุ์แก้วแคระที่มีฝีมือชั้นเซียน
และมีต้นใหญ่ๆ
อยู่มากที่สุด
|
อาจเป็นเพราะงานพฤกษาสยามครั้งที่ 13 ณ
เดอะมอลล์บางกะปิที่ผ่านมา ในการประกวด "แก้วแคระ" ดูจะร้อนแรงใช่ย่อย
เพราะในวันที่มีการประกวดแก้วแคระเป็นวันเดียวกับการประกวดไม้หลายๆ ประเภท
วันนั้นจึงเป็นวันรวมตัวกันของบรรดาเซียนไม้ก็ว่าได้ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่
ฉ.182
ปักษ์แรก พ.ค 55)
หนึ่งในนั้นคือ สมภพ มะลิสุวรรณ เจ้าของสวนสมภพ
เจ้าตำรับแก้วแคระรายแรกของไทย จนกลายเป็นแบรนด์ไปเสียแล้ว หากพูดว่ามีสมภพที่ไหน
มีแก้วแคระที่นั่น คงจะไม่ผิดนัก
ทีมงานจึงหาโอกาสเข้าไปพูดคุยกับคุณสมภพที่สวน
เกี่ยวกับเรื่องราวของแก้วแคระ เพราะ…??
ลักษณะเฉพาะตัวของแก้วแคระคือ มันจะกลมโดยธรรมชาติ
หากเลี้ยงกลางแดดจัดๆ ด้วยแล้ว
พุ่มจะแน่นเปรี๊ยะ
|
….และเขาเป็นคนที่สามารถขยายจำนวนแก้วแคระ
ได้มากที่สุดในเวลานี้!!!!
“แก้วแคระนี่เป็นของไทยนะ ดั้งเดิมนี่เป็นของไทย
แต่คนอินโดนีเซียมาซื้อตัดตอนไป”
สมภพให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งกำเนิดที่แท้จริงของแก้วแคระ ซึ่งชาวอินโดฯ
ที่ซื้อไปก็ไม่ใช่ใคร จันทรา กูนาวัน เจ้าของไม้ประดับแดนอิเหนานั่นเอง
“แต่เราก็ไปซื้อกลับมา” สมภพเล่าไปหัวเราะไป
เพราะเป็นเรื่องตลกไหมล่ะ ไม้จากประเทศไทยแท้ๆ คนในประเทศนี้กลับไม่เคยเห็น
จนเมื่อไปอยู่อินโดฯ จึงเห็นถึงความงาม อย่างนี้เขาเรียกว่า
“ใกล้เกลือกินด่าง” ใช่ไหม...???
นักเล่นที่ไปซื้อแก้วแคระจากอินโดฯ ประกอบไปด้วย “นักเลงไม้ดอก”
ชื่อดัง 3 คน
คือ ชาตรี ไทรประเสริฐศรี, อนันต์ กุลชัยวัฒนะ และ สมภพ มะลิสุวรรณ
นี่เอง “ซื้อมาต้นเล็กๆ คนละ 2-3
ต้นเท่านั้น”
หลังจากนั้นสมภพนำมาขยายพันธุ์นับจากนั้นเป็นต้นมา
จนปัจจุบันเขากลายเป็นแหล่งขยายพันธุ์แก้วแคระมากที่สุดของประเทศนี้
และด้วยการที่ทำมาเป็นเวลากว่า 10 ปี จึงมีแก้วแคระต้นใหญ่ๆ
อยู่มากที่สุดเช่นกัน จนอาจจะเรียกกันได้ว่าสมภพคือ “เจ้าพ่อแก้วแคระ”
“แก้วแคระเลี้ยงง่ายมันไม่ได้มีอะไรเลย ขอแค่อย่าขาดน้ำเท่านั้นเอง
พอโตขึ้นก็เปลี่ยนกระถางไปเรื่อยๆ
แล้วถ้าเราอยากได้ทรงธรรมชาติเราก็ไม่ต้องตัดแต่งอะไรเลย
เขาจะเป็นทรงพุ่มกลมโดยธรรมชาติ”
เจ้าพ่อแก้วแคระอธิบายความงามโดยธรรมชาติของไม้แคระตัวนี้
“แต่ถ้าเราจะตัดแต่งให้เป็นบอนไซ หรือทำเป็นไม้ดัดไทยก็ได้ทั้งนั้น
ขึ้นอยู่ว่าจะตกแต่งไปในแนวไหน”
นี่อาจจะเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของแก้วแคระ เพราะธรรมชาติเดิมๆ
ของมันจะเป็นไม้ใบเล็กฟอร์มกลมเหมือนลูกบอล
แต่ปัจจุบันมีการนำไปเลี้ยงตามรูปแบบของบอนไซ
ซึ่งเป็นแนวที่กำลังเป็นที่นิยมไม้ตัวนี้
จากการเริ่มต้นนำ ยอดเล็กๆ เท่าก้านไม้ขีดมาชำปลูก
จนได้ต้นแก้วแคระขนาดใหญ่ๆ
อย่างฉากหลังนั้นใช้เวลา 10
ปี
แต่ก็คุ่มกับความงามที่ได้
|
เสน่ห์ของแก้วแคระ
“มองปุ๊บเราจะเห็นเลยว่ามันดูสวยงามมากเลยตามตามธรรมชาติ
โดยที่ไม่ต้องตกแต่ง มันสวยอยู่แล้ว” สมภพอวดความงามของแก้วแคระ
แต่จะสวยยิ่งกว่านั้นหากนำมาทำเป็นบอนไซ หรือไม้ดัดไทย
จะยิ่งเป็นการเพิ่มพูนความงดงาม
สมภพบอกว่ายิ่งถ้านำไปปลูกในกระถางจีนจะยิ่งเพิ่มความสง่าผ่าเผย
ดูมีราศีมากขึ้น
“เอาไปตั้งตงไหนก็ได้ในส่วนของบ้าน
เพราะว่ามันเข้าได้ทุกมุมมันเป็นไม้ที่ทรงไม่ใหญ่จนเกินไป ไม่เกะกะ
เข้ามุมไหนก็ดูสวย ทำให้บ้านสวย”
การปลูกเลี้ยงแก้วแคระ
อาศัยแค่ธรรมชาติ
“เราเลี้ยงต้องตากแดดจัดๆ ยิ่งจัดพุ่มยิ่งกลมแน่น”
นี่คือการเลี้ยงแก้วแคระแบบง่ายๆ ไม่ต้องมีเทคนิคอะไรมาก เพราะแก้วแคระเป็นไม้แดด
หากเลี้ยงในพื้นที่รำไร พุ่มจะไม่แน่น กลม
“ถ้าแดดจัดๆ มันจะแน่นเปรี๊ยะเลย”
สมภพย้ำ
เมื่อสอบถามถึงราคาแก้วแคระที่บอกว่าราคาไม่แพงนั้น คือเท่าไหร่
“ขายที่สวนราคาหน้าร้านอยู่ที่ 200 บาท” ขนาดในกระถาง
6 นิ้ว
ซึ่งในอดีตราคาไม้ไซส์นี้ราคาสูงถึง 500 บาท
แต่เนื่องจากการผลิตที่มีจำนวนมากขึ้น จึงทำให้ราคาลดลงตาม
เท่ากับว่าราคาลดลงมากว่าเท่าตัว
“แต่ถ้าขายปลีกก็ 300 บาท”
อย่างไรก็ตามแม้แก้วแคระจะเป็นไม้เลี้ยงง่าย แต่ข้อจำกัดสำคัญของมันคือ
โตช้า และการจะขยายพันธุ์ทำให้ได้ปริมาณมากๆ นี่ก็ยางไม่แพ้กัน
นี่คืออุปสรรคใหญ่ของการขยายพันธุ์แก้วแคระ
แต่สำหรับสมภพที่ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าพ่อแก้วแคระ ก็เพราะเขาศึกษา
ทดลองชำกิ่งแก้วแคระจนมีความชำนาญ
“ต้องเรียนรู้เอง อย่างผมเรียนผิดเรียนถูกมาเป็น 10 ปี ไม่ได้ใช้เวลาน้อยๆ
ที่เราจะปักชำให้ไม้ได้เปอร์เซ็นต์รอดสูงๆ
ตอนนี้ผมทำให้รอดได้ 90% เราต้องศึกษาธรรมชาติของเขาด้วย พออกรากแล้วไม่ใช่ว่าจะไม่ตาย
ย้ายขึ้นมาปลูกใส่กระถางแล้วยังมีที่เสียหายอีกเยอะ ถ้าทำไม่ถูกวิธี ถ้าดูแลไม่ถึง
มันก็ตายการดูแลเริ่มต้นนี่เหมือนลูกอ่อนเลยหล่ะ”
เจ้าพ่อแก้วแคระย้ำว่าการผลิตแก้วแคระให้มีจำนวนทำได้ยาก
เพราะต้องใช้กิ่งเล็กๆ มาชำ และค่อยๆ เลี้ยงให้ขนาดใหญ่ ใช้เวลาไม่ใช่น้อยเลย
นี่เองที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้แก้วแคระราคาสูง เพราะเริ่มจากปักชำ
ไปจนกว่าจะขายได้ราคา 200 ใช้เวลาถึง 2 ปี
“แต่ถ้าเราขายแพงเกินไป มันก็ไม่ได้ ตลาดมันก็เป็นไปตามวัฏจักรของต้นไม้
เราขายแพงเกินไปก็ไม่มีใครซื้อเรา”
สำหรับคนที่พึ่งเริ่มต้นเลี้ยงแก้วแคระ
ต้องทำอย่างไรบ้าง....???
เจ้าพ่อแก้วแคระไทย แนะว่าต้องรดน้ำทุกวัน ขาดไม่ได้แม้แต่วันเดียว
ยกเว้นวันที่ฝนตกนั้น หรือขาดได้จริงๆ ก็ไม่เกิน 1 วัน
“ถ้ารดน้ำทุกวันก็แทบไม่มีโอกาสตาย”
ส่วนอาหารนอกจากน้ำก็มี ปุ๋ย ส่วนมากเขานิยม ปุ๋ยละลายช้า “ออสโมโค้ท”
สูตร 3
เดือน สูตร 13-13-13 หรือ สูตรเสมออะไรก็ได้
วัสดุปลูกแก้วแคระไม่ต่างจากชวนชมเลย คือ มีดิน 1 ส่วน กาบมะพร้าวสับ
4 ใบก้ามปู
2 ส่วน
และปุ๋ยคอก 1
ส่วน แล้วถ้าหมักด้วยจะดีที่สุด หมักอย่างน้อยๆ 10 วัน
แล้วก็หมั่นกลับให้ดินไม่อบร้อน
“ไม้ต้นนี้บางครั้งก็มีดอก บางครั้งก็ไม่มีดอก ถ้าเขามีดอกเขาจะติดผล
แต่เขาไม่ได้ออกดอกบ่อยๆ นานๆ จะออกดอกสักครั้ง
เป็นเหตุผลหนึ่งที่เราต้องขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ กิ่งเขาเล็กมาก จะตอนก็ตอนไม่ได้
เราเลยต้องใช้ปักชำ เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด”
พอปักชำนี่เราใช้แค่กิ่งเล็กๆ ไม่ใช่กิ่งใหญ่ เป็นกิ่งที่มีใบ
มียอดใช้ได้หมด มันต้องจุ่มน้ำยาเร่งราก ชำในขี้เถ้าแกลบ
ไม้ที่จะปักชำต้องจุ่มน้ำยาเร่งราก จะช่วยให้ได้ผลดี ถ้าเราไม่จุ่มน้ำยาเร่งราก
โอกาสที่จะออกรากนี่ก็ยาก และต้องใช้เวลานานกว่าจะออกราก
พอนานมันก็จะเน่า
การปักชำยากอย่างไร จึงทำได้ยาก...???
แค่ไม่รู้ว่าธรรมชาติของเขาเป็นอย่างไรเท่านั้นเอง
วิธีการปักชำเขาก็เหมือนต้นไม้ธรรมดาทั่วไป
“แต่มันมีเทคนิคในการควบคุมแสง ตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญ
ต้องศึกษากันยาวเลยเรื่องนี้ กว่าเราจะเรียนผิดเรียนถูกว่าแสงเท่านี้
อุณหภูมิเท่านี้ถึงจะพอ แล้วควรจะปักในช่วงฤดูไหนจึงจะดีที่สุดอย่างนี้
ตรงนี้แหละที่เราใช้เวลานาน นี่เป็นการลองผิดลองถูกมาในช่วงเวลาเป็น
10
กว่าปี”
เลี้ยงแบบบอนไซ
และงานประกวด ปลุกกระแสแก้วแคระ
บอนไซทรงตกกระถาง สร้างจากต้นแก้วแคระ
แม้จะเป็นแค่ขั้นตอนการวางโครงสร้าง
แต่ก็ยืนยันได้ว่าไม้โตช้าตัวนี้นำมาสร้างเป็นบอนไซได้
|
“ตอนนี้ถือว่าแก้วแคระเป็นไม้ที่ประสบความสำเร็จทีเดียว
แก้วแคระเป็นไม้ที่สวยตัวหนึ่ง แล้วก็เป็นไม้ที่ยั่งยืน
สามารถจะพัฒนาการเล่นไปเรื่อยๆ มีความหลากหลายขึ้น จากทรงพุ่มธรรมดา มาเป็นบอนไซ
มาจัดสวนถาด มาเกาะหิน มันได้หมด มันเข้าอะไรได้หมด ทำก็ง่าย อย่างเราไปจัดสวนถาด
ใช้แก้วแคระเข้าไปเป็นส่วนประกอบได้เลย หรือว่าจะเกาะหินก็ได้ จะทำเป็นบอนไซเกาะหิน
หรือบอนไซทรงต้นก็ได้ ตกกระถางหรือว่าอะไร ได้ทุกทรง
ในมาตรฐานบอนไซ”
ความพิเศษของแก้วแคระคือมีใบเล็ก ต้นแคระอยู่แล้ว เมื่อนำมาเลี้ยงแบบบอนไซ
จึงทำให้เหมือนต้นไม้ใหญ่ได้ง่ายและไว กว่าไม้บอนไซชนิดทั่วไป
ที่ต้องใช้ไม้ใหญ่มาตัดแต่ง และความได้เปรียบของแก้วแคระคือ
สามารถนำมาทำเป็นบอนไซได้ทุกรูปทรง เช่น ทรงตกกระถาง ทรงต้น และทรงลู่ลม เป็นต้น
“จะเอาแก้วแคระพุ่มกลมแน่นๆ มาทำบอนไซ ก็ต้องตัดออกออกเกือบหมด
จากพุ่มใหญ่ๆ ตัดออกเหลือแค่ไม่กี่กิ่ง เหลือไว้แต่กิ่งหลักที่ต้องการ
แล้วเราค่อยมาสร้างใหม่ มาปลูกกันใหม่ นี่แหละการทำบอนไซ
มาตรฐาน”
อย่างไรก็ตามหากต้องการทำแก้วแคระให้สวยงามและเป็นที่ยอมรับของวงการบอนไซ
ต้องทำตามหลักเกณฑ์ของสมาคมบอนไซ และเป็นที่ยอมรับของนักเล่นบอนไซ
ซึ่งขณะนี้มีมือบอนไซไม่น้อยเลยที่กำลังนำแก้วแคระไปปลูกเลี้ยงสไตล์บอนไซมาตรฐาน
ทั้งนี้แก้วแคระต้นที่นำมาตัดแต่งเป็นบอนไซจะมีกิ่งเล็กๆ ที่ต้องตัดทิ้ง
เพื่อเอาแต่กิ่งหลัก ส่วนกิ่งที่ตัดทิ้งเราก็นำไปปักชำใช้เวลาประมาณ 3 เดือนก็จะออกราก
แตกยอดใหม่ เพิ่มจำนวนได้อีกมากทีเดียว
ว่ากันว่ากิ่งที่แต่งทิ้งเพียงต้นเดียว
นำไปปักชำได้หลายร้อยกิ่ง
ลักษณะพิเศษของแก้วแคระอย่างแรกคือ ใบเล็ก
และแคระนี่แหละที่ทำให้นักนิยมไม้แปลงชอบ
กำลังลามไปสู่นักเล่นบอนไซ
|
ส่วนที่กลายพันธุ์ ต้นไหนที่ต่างและแปลกไปจากเดิม ก็ตัดมาปลูกใหม่
ใบใหญ่ขึ้น “ผมคิดว่าต้นที่กลายใบใหญ่มันน่าจะมีดอก
เพราะบางต้นที่กลายออกมาแล้วมันมีดอก
แต่อันปกติไม่มีดอก”
ขอขอบคุณ
สมภพ
มะลิสุวรรณ
75/7 ซ.โชควัฒนะ 5 ถ.สวนผัก เขตตลิ่งชัน กรุงเทพ โทรศัพท์ 08-1484-4828
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น